พระรอดกรุใหม่


พระรอดกรุใหม่

1. คราบธรรมชาติสมบูรณ์ในพระรอดกรุใหม่เช่นคราบกรุ/ดินนวล/คราบแคลเซี่ยม/คราบสนิมไข

2. ความคมชัดของพิมพ์พระ หมายถึงความคมชัดของที่เครื่องมือเครื่องมาร์คต่างๆบนพิมพ์พระ รอยครูดในองค์พระรอดจุดสำคัญในพิมพ์พระรอดมีอยู่ครบสมบูรณ์

3. ความสวยงามทางพุทธศิลป์ หมายความว่าได้มองเห็นสุนทรียภาพอันสมบูรณ์ของศิลปะในเชิงช่างศิลป์ในยุคนั้นๆ

4. ความสมบูรณ์ทางสุนทรียภาพทางธรรมชาติ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ /โครงสร้างโมเลกุลของเนื้อพระ( molecule ) /ความแห้งของเนื้อพระ( dry )/การขยายตัวของเนื้อพระ จนทำให้เกิดเม็ดผด /ผิวปลากระเบน/ รอยผดในร่องลายนิ้ว

5. ความเป็นการอนุรักษ์ หมายถึงความอนุรักษ์ทางด้านโบราณคดี

โบราณวิจารณ์

สรุป ได้ว่าพระรอดกรุใหม่นั้นสามารถนำพิสูจน์ได้ง่ายกว่าพระรอดกรุเก่า ทั้งทางวิทยาศาสตร์ /ทางศิลปะ/ ทางประวัติศาสตร์/ทางโบราณคดีส่วนพระรอดกรุเก่าเพียงสนองความต้องการของคน กลุ่มหนึ่งเท่านั้นและนิยมกัน ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น


ตำหนิพระรอด

จาการค้นพบพระรอดพิมพ์ จำนวน40 จากการให้การของอดีต เจ้าอาวาสวัดมหาวัน ( พระณาณชุมพลว่า พระรอดนั้น มีมากกว่า 40 พิมพ์ ปรากฏว่าพระรอดพิมพ์ใหญ่ทุพิมพ์มีใบหน้าและตำหนิใกล้เคียงทั้งหมดยกเว้นพระเกจิรุ่นหลัง อันได้แก่  พระรอดครูบากองแก้ว/พระรอดเณรบี้ยว/พระรอดครูบาทึม 

เนื้อพระรอดนั้นนัดขุดพระรอด


เนื้อพระรอดนั้นนัดขุดพระรอด ได้แยกออกเป็น 3 โซน

1. โซนเนื้อละเอียด
2. โซนเนื้อละเอียดปนหยาบ
3. โซนเนื้อหยาบ

คราบธรรมชาติในพระรอดแท้

1. เกาะแคลเซี่ยม หมายความว่าพระรอดที่ฝั่งลึกในดิน ระดับความลึก 5-6 เมตร เนื้องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้เมืองลำพูน กลายเป็น เมืองใต้พิภพ( City underground) จาการสอบถามข้อมูลจากกรมรณีวิทยา เพราะเมืองลำพุนี้ เป็นรอยปริของเปลือกโลกชั้นล่าง จะเกิดแผ่นดินไหว ทุกๆ 500-600 ปี มีผลทำให้พระรอด ที่สร้างยุคแรก อยู่ในดินชั้นล่าง ซึ่งใกล้ระดับตาน้ำ มีการระบายอากาศภายในองค์พระ/เนื้อพระ (oxidation ) ทำให้ผิวพระพรุนไม่เรียบ แคลเซี่ยมที่อยู่ในดินชั้นล่าง จะเกาะตัวเป็นชั้นๆ ถ้าส่องด้วยกลัองจุลทัศน์ จะเห็นชัดเจน ชาวบ้านเรียกว่า ลักษณะนี้ว่าหนังปลากระเบน ในกรณีนี้ ทำให้ทราบว่าพระรอดนั้นที่อายุ ถึง 1,300 ปี ในขบวนการทางวิทยาศาสตร์อจัด เนื้อพระแห้งมากครับ ถ่ายรูปไม่ค่อยสวยครับองค์จริงสวยมากๆ คราบธรรมชาติต่างที่กล่าวมาเบื้องต้น ไม่ปรากฏในพระรอด เก้.......

มวลสารที่สำคัญในพระรอดแท้
1. แร่ดอกมะขาม
2. โพรงเหล็กไหล
3. แร่เหล็กไหล
4. เหล็กน้ำพี้
5. เหล็กไหลตาแรด
6. เมฆพัสตร์
7. น้ำศักสิทธิ์ (ดอยขม้อจ.ลำพูน)/น้ำอมฤต
8. ดินศักดิ์สิทธิ์ศิลาธิคุณ
9. ว่านร้อยแปด
10. ดินบริสุทธิ์
11. ศาสตราวุธเก่า
12. พระธาตุศักดิ์ศิทธิ์อย่างน้อยมีแก้วเก้า
13. เพชรตาแมว
14. ว่านงู
การพิจารณาคราบธรรมชาติในพระรอด หมายความว่า สภาพทางธรรมชาติที่พระรอดนั้นมีอิทธิพลค่อพระรอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีและทางกายภาพ ความแตกต่างในด้านสี และเนื้อหาสาระที่พอจะแยกลักษณะตามที่ค้นพบในประสพการณ์ดังนี้

แยกตามชั้นของดิน
แยกตามภาชานะที่บรรจุหม้อโคนโท
ระดับความชื้นระดับน้ำใต้ดิน
ลักษณะแร่ธาตุในดิน/แคลเซี่ยม/น้ำฮาก

ความลึกระดับหินศิลาแลง
คราบราดำ/ราน้ำตาล

15. ว่านไพลดำ
16. ว่านนกคุ้ม
17. ผงยาฤาษี
18. ผงมหาราชแดง

ตำนานพระรอดเณรจิ๋ว


ตำนานพระรอดเณรจิ๋ว

พันตำรวจเอกพิเศษ อรรณพ กอวัฒน

า (ปัจจุบันเกษียณราชการแล้ว) ผู้ที่หลวงปู่ชุ่มให้ความเมตตามากท่านหนึ่ง ได้เคยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องพระรอดนอกตำนานไว้ว่า

 "พระรอดเณรจิ๋วนี้ เมื่อท่านครูบาบุญทืมสร้างเสร็จแล้ว ก็ได้มอบให้ท่านครูบาชุ่ม โพธิโก ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับท่านครูบาศรีวิชัยปลุกเสกให้เสร็จสิ้น แล้วก็แจกจ่ายกันเรื่อยไป ปริมาณการสร้างก็ไม่ได้นับไว้แต่มีจำนวนประมาณ 1 บาตรพระที่เหลือจากแจกจ่ายตั้งแต่สร้างเสร็จ จนก่อน พ.ศ. 2518 เหลือพระอยู่ประมาณ 1/3 บาตร และในปีนี้นี่เอง (2518) ก็แจกจ่ายกันไปจนหมดสิ้น ผมเองเคยคัดสวยๆ เอาไว้จำนวนหนึ่ง

 ชื่อพระเครื่องเหล่านี้ (พระรอดน้ำต้น พระรอดแขนติ่ง พระรอดครูบากองแก้ว พระรอดเณรจิ๋ว) ท่านผู้สร้างไม่ได้ตั้งชื่อเอาไว้แต่ประการใด เป็นพวกเรานี่เองที่ไปตั้งชื่อให้ท่านเพื่อความสะดวกในการเล่นหานั่นเอง

ข้อมูลนี้ได้มาจากการบอกเล่าของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก กับหลวงปู่ครูบาบุญทืม พรหมเสโน เองโดยตรง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 แต่ก็เป็นความไม่ใส่ใจของผมเองแหละครับ ที่ไม่ได้สอบถามว่า พระรอดเณรจิ๋วนี้ มีกี่พิมพ์ที่แตกต่างไปจากพิมพ์ที่ท่านมอบให้ผมมา จำได้ว่าพระเครื่องส่วนนี้หลวงปู่ครูบาชุ่มฯ นำออกมาจากที่ท่านก็เก็บและผมเห็นมีเหลือบรรจุอยู่ในบาตรอีกประมาณ 1/3 ของบาตร แล้วท่านก็ยังได้เทน้ำลงไปล้างพระและเขย่าๆ บาตรเพื่อให้พระสะอาด ก่อนที่จะนำมาแจกจ่ายญาติโยม ผมเองเมื่อเห็นดังนั้นยังค้านเสียงหลงเลยครับว่า ไม่ต้องล้างหรอกครับหลวงปู่ฯ (ผมกลัวพระจะเสียหาย) ท่านก็ว่า ไม่เป็นไรพระแข็งแรงดี มีผงเก่าอยู่มาก”

พระรอดนั้นมีหลายพิมพ์ทรง


 พระรอดนั้นมีหลายพิมพ์ทรงซึ่งจะได้แยกแยะ ออกโดยนักวิชาการที่ได้มาวิจัยค้นคว้า และเห็นพิมพ์พระชนิดเดียวกันมากกว่าสององค์นั้นคือพิมพ์ใหม่ที่เกิดขึ้น ที่อาจารย์อรรคเดช ได้ทำการแยกพิมพ์ได้ดังต่อไปนี้

 พระรอดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เครื่องราชฯแยกไป  9   พิมพ์
พระรอดพิมพ์ใหญ่อุนาโลม  3  พิมพ์
พระรอดพิมพ์ใหญ่อุนาโลม พิมพ์ ส.เสือ
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ ( พิมพ์ ส.เสือ )
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์โพธิ์ฉีก
พระรอดพิมพ์ใหญ่ (พิมพ์เสื้ยนไม้   2 พิมพ์ )
พระรอดพิมพ์ใหญ่สังฆาฎิคู่ (พิมพ์ จ่าโท)  2 พิมพ์
พระรอดพิมพ์ใหญพิมพ์ประภามลฑลรูปใบหอก
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ประภามลฑล รูปโค้งมน
พระรอดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์บ๊ลอคแตก
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์แขนมีขีด (ด้านซ้าย)
พระรอดพิมพ์ใหญ่แขนมีขีด(ด้านขวา )
พระรอดพิมพ์ให่ญ่ พิมพ์ใหญ่แข็งคม
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ตะเข็บข้าง
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ คมฃัดลึก แยกไป 3  พิมพ์
พิมพ์ปากสองชั้น
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์หน้าเทวดา
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์จมูกย่น
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์โพธิ์ปรก
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ โพธิ์บาง( พิมพ์โพธิ์ตื้น )
พระระอดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เศียรโต
พระรอดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์มือแตก
พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์เนื้อเกิน
พิมพ์มีคิ้วหรือตาสองชั้น
พิมพ์หัวพริกไทย
พิมพ์หน้าพระสิงห์
พิมพ์คมชัดลึก  4 พิมพ์
พิมพืกำไลปล้องแขน หูมีขอ
พิมพ์ปากฉลาม
พิมพ์คิ้วต่อทรงเขมร
พิมพ์ใหญ่พิมพ์เส้นคอ

พระรอดกรุเก่า คือ


พระรอดกรุเก่า คือ พระรอดที่มีอายุ 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี และพระรอดที่สร้างโดยพระย่าสรรพสิทธิ์ พระรอดกรุเก่าคือพระรอดที่ผ่านการใช้ ผ่านการเสียดสี/รอยสึกจาการใช้ ช่วงของชีวิตคน /ขาดหลักฐานทางธรรมชาติ เช่นคราบกรุดินนวล แยกออกเป็นประเภทดังนี้

1. พระรอดที่ผ่านการใช้ ใน สมัยก่อนนำพระไปใช้มักจะทำถุงเล็กๆพกติดตัว หรือถักด้วยเชือกหรือลวดพระจึงสึกโดยการใช้ เช่น ผิวด้านนอกสึกหายไปยังมีคราบขี้มือจากการสัมผัส คราบสกปรกจากโลกภายนอก

2. การ จงใจ ในกรณีนี้ ภาวะการตลาดเข้ามาแทรก เช่นเซียนชอบพระรอดกรุเก่า ชาวบ้านจึงนิยมนำพระรอดมาทำให้สึกโดยการขัดถูด้วยกระดาษทราย /เจียรด้วยเครื่องมือ การนี้ทำให้สภาพธรรมชาติของพระรอดขาดหายไป เรื่องครากรุ/ดินนวล/คราบแคลเซี่ยม

3. การ ทำให้โครงสร้างพระรอดเปลี่ยนไป เช่นนำพระรอด ที่แต่งผิวเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปแช่น้ำยาเคมี หรือน้ำมันเครื่องเพื่อจะให้เนื้อพระรอดหนึกนุ่ม นำพระรรอดไปทำคราบสนิมปลอม ซึ่งของแท้เป็นพระที่อยู่ในหินศิลาแลงซึ่งได้ชี้แจงไปแล้ว  

พระรอดกรุเก่ามี 3 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทสวยดูง่ายหมายความว่า พระถูกใช้ถูกสัมผัสจากส่วนของร่ายกายเช่นการถูกเหงื่อไคลแต่ยังคงความเป็น ธรรมชาติให้เห็น เช่นคราบกรุ/ดินนวล/สนิมไขสนิมขาว การใช้จะทำให้ผิวพระจะหนึกนุ่มสวยงามทางภาษาเซียนว่าพระดูง่าย

2. ประเภทแท้แต่ดูยาก หมายความว่าพระรอดที่ถูกใช้งานจนสึกเหลือแต่แก่นสารการนี้ สภาพทางธรรมชาติอาจจะถูกทำลายจนหมดสิ้นเช่นคราบกรุ/ดินนวล/คราบสนิมไข/ทาง ภาษาเซียนเรียกว่าพระดูยากและทางโบราณคดีอีกด้วย

3. ประเภทพระฝีมือ หมายความว่านำพระฝีมือมาตกแต่งผิวเช่นพระ นำมาขัดผิว แช่น้ำยาทางวิทยาศาสตร์ การนี้ก็ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้รู้ที่เคยเห็นของแท้ ที่ทำไม่ได้คือเรื่องโซนเนื้อพระรอด/มวลสาร/คราบธรรมชาติ มีผู้ได้นำพระรอดดังกล่าวมาตรวจเช็คก็ไม่ผ่านทางสถาบันพระเครื่องพระบูชาไทย แต่อยางใด? เพราะทางสถาบันฯได้ทำเวอร์คช๊อป/วิจัยโดยตรงเรื่องพระรอด/พระคงเป็นอย่างดีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างพระรอดกรุใหม่กับพระรอดกรุเก่า